วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่)



ที่ตั้ง 
          .ศุภกิจ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 

รายละเอียดเบื้องต้น
          วัดจีนประชาสโมสร หรือที่รู้จักกันในนาม วัดเล่งฮกยี่ (龍福寺) เป็นวัดแบบจีนศาสนาพุทธนิกายมหายาน มีความเก่าแก่โดยเริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยขยายมาจากวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (龍蓮寺) ในกรุงเทพฯ ชื่อภาษาจีนของวัด คำว่า ฮกแปลว่า วาสนา โชคลาภ ความมั่งมีศรีสุข เล่งหมายถึง มังกร จึงมีผู้เรียกวัดนี้ ว่า มังกรวาสนา หรือ มังกรแห่งโชคตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร ส่วนตำแหน่งหัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ จังหวัดกรุงเทพฯ และหางมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสามตำแหน่งของมังกรพาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เยาวราชดินแดนแห่งการค้าขาย เมืองแปดริ้วดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและจังหวัดจันทบุรี เมืองแห่งอัญมณีพลอย

กิจกรรม 
          เดินไหว้สิ่งศักดิ์ตามจุดต่างๆ อันได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า เทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ้งเอี๊ย พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน เจ้าแม่กวนอิม และเทพเจ้าอีกหลายองค์ตามคติจีน วิหารหลวงพ่อหินศักดิ์สิทธิ์ วิหารบูรพาจารย์ วิหารตี่จั๊งอ๊วง สระนทีสวรรค์ นอกจากนั้นภายในวัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ยังมีระฆังใบใหญ่ของชาวจีนแต้จิ๋วที่ได้สร้างขึ้น 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตรถือกันว่า ว่ากันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศล


อื่นๆ 
          038511069

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง)

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง)




ที่ตั้ง
          เลขที่ 156 .มรุพงษ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2377 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) และเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2385 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2395
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดตามฐานันดรศักดิ์ของเสด็จนายกรมฯ ซึ่งเป็นอาของพระเจ้าแผ่นดินว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" แปลว่า "วัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง" แต่เดิมเรียกกันว่า "วัดเมือง" หรือ "วัดหน้าเมือง" เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 25 ตอนพิเศษ 140 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2551

กิจกรรม 
        มีโบราณสถานและโบราณวัตถุให้ชมมากมาย เช่น รอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างอุโบสถกับพระวิหาร มีต้นจันอายุมากกว่า174 ปี (นับถึงปี 2556) พระปรางค์ มุมกำแพงรอบพระวิหาร มี 4 องค์ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ศาลากรมหลวงรักษ์รณเรศ ฯลฯ


อื่นๆ 
           -

วัดชมโพธยาราม

วัดชมโพธยาราม




ที่ตั้ง 
          ต.โสธร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          วัดแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดย พระครูปลัดสุโพธิ์ จันทาโภ เป็นผู้ก่อตั้งบนพื้นที่ดินที่ได้รับการถวายจาก 2 สามีภรรยา คือ นายชม และนางเยี่ยม ทองคำเปลว จำนวน 12 ไร่เศษ เริ่มแรกเดิมทีเป็นแค่สำนักสงฆ์ในชื่อของ"สำนักสงฆ์ชมพุทธคยานุสรณ์" หลังจากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างกุฏิ, ศาลาการเปรียญ, พระอุโบสถ พร้อมสังเวชนียสถานที่จำลองแบบมาจากของจริงทั้งหมด โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2544 ซึ่งต่อมาก็ได้ยกลำดับเป็นวัด ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของ "วัดชมโพธยาราม"

กิจกรรม 
          นมัสการสังเวชนียสถาน สังเวชนียสถาน คือ สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช โดยเมื่อดูแล้วทำให้จิตหันมาคิดถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท และเพียรพยายามทำสิ่งที่ดีงาม โดยมี 4 แห่งคือ สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ พุทธคยาเจดีย์ตรัสรู้ เจดีย์ปฐมเทศนา สถานที่ปรินิพพาน


อื่นๆ 
          -

วัดนครเนื่องเขต

วัดนครเนื่องเขต



ที่ตั้ง 
          46 หมู่ 8 ต.วังตะเคียน อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2430 มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า วัดต้นตาล เนื่องจากพื้นที่เดิมบริเวณนี้มีต้นตาลอยู่จำนวนมาก ต่อมาเมื่อมีคลองขุดใหม่คือ คลองนครเนื่องเขต แยกจากคลองแสนแสบจึงเปลี่ยนได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดนครเนื่องเขต ตามชื่อคลอง ภายในวัดนครเนื่องเขตมีศาสนสถานที่น่าสนใจ ได้แก่ พระอุโบสถหลังแรก เจดีย์ราย ศาลาท่าน้ำ ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทางวัดนครเนื่องเขตได้สร้างอุโบสถหลังใหม่โดยที่มีความโดดเด่นคือ เป็นอุโบสถที่ทำด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาทั้งหลัง มีสีน้ำตาลเข้มทั้งหลัง นับได้ว่าเป็นอุโบสถที่แปลกตาและหาชมอุโบสถประเภทนี้ได้ยากในประเทศไทย อุโบสถดินเผาของวัดนครเนื่องเขต 

กิจกรรม 
         สามารถเดินชมโดยรอบจากภายนอกได้ และยังสามารถเดินลอดด้านใต้อุโบสถเพื่อไปไหว้พระ ส่วนภายในเปิดให้ชมในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ก็ไม่แน่นอนทุกอาทิตย์


อื่นๆ 
         -

วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง)

วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง)




ที่ตั้ง 
        ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เจ้าพ่อซำปอกงในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

กิจกรรม 
          นมัสการได้ทุกวัน


อื่นๆ
          038816904, 038511198 

วัดหัวสวน (โบสถ์สแตนเลส)


วัดหัวสวน (โบสถ์สแตนเลส)




ที่ตั้ง  
          หมู่ 4 ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          สร้างด้วยสแตนเลสทั้งหลัง เพื่อหวังให้โบสถ์มีอายุยาวเป็นพันปี การสร้างอุโบสถสแตนเลสมาจากความคิดของพระครูภาวนา จริยกุลท่านเจ้าอาวาสวัด ที่เห็นว่า โบสถ์ หลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว อยากจะสร้างขึ้น มาใหม่ให้คงอยู่ยาวนาน จากการศึกษาพบว่าสแตนเลส เป็นวัสดุที่สามารถอยู่ได้เป็นพันปี ในขณะที่ปูนจะมีอายุอยู่เป็นร้อยปี ท่านจึงตัดสินใจออกแบบโบสถ์สแตนเลส ขึ้นมาฃ

กิจกรรม 
           กราบสักการะพระพุทธมหาลาภ ชมภาพกิจกรรมฝาผนังใช้วิธีการ air brush เป็นภาพพุทธชาติ 10 ชาติ ประตูหน้าต่างสแตนเลส ลงลายสีทอง รูปเทวดาและรูปพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีการกัดกรงลงสีทอง ภาพลายฉลุสแตนเลส รูปพระอรหัตถ์ 90 องค์

อื่นๆ 
           -

เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ

เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ




ที่ตั้ง 
           สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา ถ.ศุภกิจ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
           เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ ประดิษฐานอยู่ที่สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา ถนนศุภกิจ เป็นรูปยืนองค์ลอย สูงประมาณ 1 เมตรเศษ หนัก 40 กิโลกรัม ทำจากเซรามิก เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีคนพบลอยน้ำมาติดฝั่งบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ชาวแปดริ้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ 

กิจกรรม 
           กราบนมัสการเจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ และรอบๆเจ้าแม่กวนอิมองค์เล็กๆ หลายปางเรียงรายกันอยู่ ถัดไปด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าอีกหลายองค์


อื่นๆ 
           0850130946

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต




ที่ตั้ง
          ตั้งอยู่ใน ต.เนื่องเขต อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          ปัจจุบันตลาดโบราณนครเนื่องเขต ได้รับการอนุรักษ์จากเทศบาลเนื่องเขตให้เป็นตลาดโบราณ ซึ่งมีอายุมากกว่า 130ปี และจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งของฉะเชิงเทรา ภายในตลาดสามารถเดินชมร้านค้าที่มีทั้งร้านค้ารุ่นเก่า และร้านค้ารุ่นใหม่ได้ทั้งสองฝั่งคลอง เช่น อาคารบ้านเรือน, ห้องแถวไม้, ร้านค้าเก่าแก่ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนริมสองฝั่งคลอง ที่ทุกวันนี้ยังใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆให้ได้เห็น แม้จะมีบ้านเรือนบางส่วนที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

กิจกรรม 
          เดินเล่นริมสองฝั่งคลองหากเหนื่อยนักสามารถนั่งพักรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือได้ที่ท่าน้ำ หรือก๋วยเตี๋ยวเป็ด และยังมีอาหารอีกหลายอย่าง เช่น กุ้งอบวุ้นเส้น, ผัดไท, ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ, แกงมัสมั่นคุณยาย แห่งร้านบ้านทนาย ฯลฯ และขนมของฝากอีกมากมาย มีบริการ"ล่องเรือชมคลอง" ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่ท่าน้ำค่ะ ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที หลังจากนั่งเรือชมคลองและชมวิถีชีวิตผู้คนสองฝั่งคลองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโซน คือ พิพิธภัณฑ์คลองนครเนื่องเขต ภายในเป็นห้องแถวไม้มีการจัดแสดงเรื่องราว และประวัติของชุมชนชาวคลองเนื่องเขตแห่งนี้ไว้


อื่นๆ 
          038814444

วัดแจ้ง


วัดแจ้ง





ที่ตั้ง 
          .ระเบียบกิจอนุสรณ์ บริเวณตลาดบางคล้า ใน อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          มีพระอุโบสถที่งดงาม เป็นศิลปะแบบไทยผสมจีน มีรูปปั้นยักษ์ข้างโบสถ์ ไม่ปรากฏว่าสร้างในปีใด ชาวบ้านเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยกทัพไปตีเขมร พระองค์เดินทัพมาจนสว่างที่บริเวณนี้ จึงได้สร้างวัดแห่งนี้และขนานนามว่า วัดแจ้ง

กิจกรรม 
          นมัสการและชมอุโบสถ

อื่นๆ  
          -

วัดพระธาตุวาโย

วัดพระธาตุวาโย



ที่ตั้ง 
          ม.2 ต.ลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          หน้าวัดจะสังเกตเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆัง ประดับด้วยกระจกสีเหลือง น้ำเงิน ขาว งดงามแปลกตา ด้านในเจดีย์มีพระพุทธรูปจำนวนมาก และภาพเขียนสีน้ำมันเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ มีบันไดขึ้นไปด้านบนได้หลายชั้น ชั้นบนสุดจะมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบและอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สภาพโดยรอบคงความเป็นธรรมชาติเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 

กิจกรรม 
          เคารพบูชาพระพุทธรูป ชมธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อนใจ

อื่นๆ 
          -

วัดสะแกงาม

วัดสะแกงาม 




ที่ตั้ง
          .8 ต.ดงน้อย อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทร

รายละเอียดเบื้องต้น
          พระปรางค์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 11 ศอก ยาว 11 ศอก สูง 15 วา มีพระปฏิมากรประทับยืน 4 องค์ สูงประมาณ 1.20 เมตร และประทับนั่ง 4 องค์ มีหน้าตักกว้าง ประมาณ 2 ศอก 1 คืบ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2437 สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2444 โดยพระปรางค์นี้เป็นการสร้างถวายของ นายเก๊า นางเอียะ สมบูรณ์ทรัพย์ คหบดีในท้องถิ่น สร้างขึ้นเมื่อเป็นการระลึกถึงบุตรสาวที่เสียชีวิต พระปรางค์วัดสะแกงามเป็นพระปรางค์องค์เดียวในอำเภอราชสาส์น นับเป็นศาสนสถานที่ชาวบ้านสะแกงามให้ความเคารพศรัทธามาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรม
          นมัสการพระปรางค์

อื่นๆ
          -

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง





ที่ตั้ง 
          .หน้าเมือง ต.หน้าเมือง จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ข้างโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา ริมแม่น้ำบางปะกง

รายละเอียดเบื้องต้น
          เป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่มีสถาปัตยกรรมไทย หลังคาทรงจัตุรมุข ส่วนบนเป็นยอดปรางค์ ภายในศาลมีเสาหลักเมือง 2 เสา เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 อีกเสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองปัจจุบัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2438 นอกจากนั้นภายในบริเวณศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรามีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตั้งอยู่ซึ่งมีศิลปะเป็นแบบจีน

กิจกรรม 
          กราบนมัสการศาลหลักเมือง และศาลเจ้าพ่อหลักเมือง


อื่นๆ 
          -

ป้อมกำแพงเมืองเก่า

ป้อมกำแพงเมืองเก่า




ที่ตั้ง 
          .มรุพงษ์.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
          กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ก่อสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ โดยมีกรมหลวงรักษรณเรศร์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างสืบเนื่องจากครั้งที่เสด็จจากการปราบขบถเวียงจันทน์ แล้วได้เกิดปราบขบถเขมร โดยเขมรได้ชักจูงญวนเข้ามาพัวพันด้วยจนถึงกับรบขึ้นกับญวนในสงครามอานามสยามยุทธ (๒๓๗๖-๒๓๙๐) ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาทจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างและเสริมป้อมขึ้นหลายแห่งตามปากแม่น้ำสำคัญ ๆ รวมทั้งแม่น้ำบางปะกงแห่งนี้ด้วย

กิจกรรม 
          ด้านหน้าแนวกำแพงจัดเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำบางปะกง เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง


อื่นๆ
          -

ล่องเรือแม่น้ำบางปะกง

ล่องเรือแม่น้ำบางปะกง




ที่ตั้ง 
           อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเบื้องต้น
           ชมพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร ที่ใหญ่และสวยงามที่สุด สัมผัสธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ และสถานที่สำคัญสองฝั่งริมน้ำ อาทิ อาคารไม้สักใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ แนวกำแพงเมืองโบราณ วัดสำคัญต่างๆ ย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ เรือนแพ ตลาดท้องน้ำในอดีต ถึงตลาดบ้านใหม่ ตลาดริมน้ำโบราณ อายุกว่า 100 ปี 

กิจกรรม 
          ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน สัมผัสธรรมชาติ


อื่นๆ  
          -